การศึกษาการกระจายของแรงดันน้ำ 
ในโพรงดินระหว่างการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์

การศึกษาการกระจายของแรงดันน้ำในโพรงดินระหว่างการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์
THE STUDY ON PORE WATER PRESSURE DISTRIBUTION DURING CONSTRUCTION OF CEMENT COLUMNS

เกษม เพชรเกตุ (Kasem Petchgate) และ พินิต ตั้งบุญเติม (Pinit Tungboonterm)
รองศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี kasem.pet@kmutt.ac.th
 
อรรถพล วิบูลย์จันทร์ (Attapol  Viboonjun)
นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกระจายของแรงดันน้ำในโพรงเฉพาะช่วงก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์ โดยวิธี Jet grouting เพื่อที่จะศึกษาว่าแรงดันจากการ grouting มีอิทธิพลต่อพื้นที่ข้างเคียงอย่างไร ใช้พิซโซมิเตอร์ AIT Type วัดแรงดันน้ำขณะทําเสาเข็มดิน ซีเมนต์ก่อนงานก่อสร้างคันดินทดลองในพื้นที่ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม วังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งในการก่อสร้าง คันดินทดลองครั้งนี้ใช้เสาเข็มดินซีเมนต์ จํานวน 80 ตัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ซม. ยาว 9 เมตร เป็นฐานรองรับดินถม ใช้แรงดัน 250 บาร์ ในการทํา Jet Grouting เพื่อทํา Cement Column และทํา Pre Jet ได้ติดตั้งพิซโซมิเตอร์ แบบ Open Standpipe วัดผลของแรงดันน้ำในโพรงดินที่ระดับความลึก 3 เมตร 6 เมตรและ 8 เมตร ตามลําดับ และติดตั้งพิซโซมิเตอร์ แบบ Closed Hydraulic System จํานวน 8 ตําแหน่ง ตําแหน่งละ 3 ความลึก ได้แก่ 3 เมตร 6 เมตรและ 8 เมตร เพื่อวัดค่าแรงดันน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างทําการก่อสร้าง และ หลังการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์ จากผลการศึกษาพบว่า ค่าแรงดันน้ำในโพรงดินเริ่มต้น ที่ระดับความลึก 3 เมตร 6 เมตรและ 8 เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.175 ksc 0.428 ksc และ 0.678 ksc ตามลําดับ ค่าแรงดันน้ำส่วนเกินสูงสุดที่วัดได้ระหว่างก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์ ที่ระดับความลึก 3 เมตร 6 เมตรและ 8 เมตร มีค่าเท่ากับ 0.261 ksc 0.528 ksc และ 0.62 ksc ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยของแรงดันน้ำส่วนเกิน หลังจากทําการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์เสร็จแล้วผ่านไป 66 วัน พบว่า ที่ระดับความลึก 3 เมตร 6 เมตร และ 8 เมตร มีค่าเท่ากับ 0.00 ksc 0.02 ksc และ 0.067 ksc ตามลําดับ แสดงว่าการกระจายของแรงดันน้ำบริเวณนี้ใช้เวลาประมาณ 66 วัน จะมีค่าแรงดันส่วนเกินเป็น 0 ที่ ความลึกไม่เกิน 3 เมตร และจะเหลือค่าแรงดันอีกเล็กน้อยในส่วนที่ลึกลงไป
 
ABSTRACT

This paper presents the study on pore water pressure distribution during construction of cement column by Jet grouting method to study the effect of pore water pressure due to the adjacent area study at the EGAT’s reservoir Wang Noi power plant. The 80 cement columns, which are 50 cm in diameter and 9 m in length, were constructed with grouting pressure of 250 bars as the foundation of embankment. Open standpipe piezometers were installed in order to measure initial pore pressure at the depth of 3, 6 and 8 m. Moreover, closed hydraulic system piezometers were installed 8 positions at the depth of 3, 6 and 8 m in each position, in order to measure excess pore pressure which occurred during the construction of cement column and after the construction of cement column. From the experiment, it is found that the average of initial pore pressure at the depth of 3, 6 and 8 m are 0.175, 0.428 and 0.678 ksc, respectively. The maximum excess pore pressure, which could be measured during the construction of cement column at the depth of 3, 6 and 8 m, are 0.261, 0.528 and 0.62 ksc, respectively. The average value of the excess pore pressure at 66 days after the completion of construction of cement column at the depth of 3, 6 and 8 m are 0.00, 0.02 and 0.067 ksc, respectively.
 
 
KEYWORDS: PORE WATER DISTRIBUTION, CONSTUCTION, CEMENT COLUMN, PIEZOMETER

Download File : การศึกษาการกระจายของแรงดันน้ำในโพรงดินระหว่างการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์
Share this post :